วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)



    Bloom และคณะได้แบ่งพฤติกรรมทางพุทธิพิสัยออกเป็น 6 ขั้นตอน โดยเรียงจากพฤติกรรมต่ำสุดถึงสูงสุด และพฤติกรรมแต่ละขั้นมีวิธีการเขียนข้อสอบวัดดังนี้

1. ความรู้ความจำ (Knowledge)

      
ตัวอย่างข้อสอบด้านความรู้ความจำ
 1.  การวัดขนาดข้อมูล 8 Bit มีค่าเท่ากับ
 ก. 10 Byte   
 ข. 100 Byte     
 ค. 1 Byte     
 ง. 1024 Byte

----------------------------------------------------------------------------------------------------


2. ความเข้าใจ (Comprehension)






ตัวอย่างข้อสอบด้านความรู้ความเข้าใจ
2. ข้อมูลเมื่อผ่านการประมวลผลแล้วจะได้อะไร
ก. Document
ข. Report
ค. Information
ง. Output

--------------------------------------------------------------------------------------------------


3.  การนำไปใช้ (Application)


ตัวอย่างข้อสอบด้านการนำไปใช้
3. ในการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นอาจเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อเช่นลบแฟ้มข้อมูลผิดหากเราต้องการกลับคืนจะใช้คำสั่งใด
ก. ใช้คำสั่ง RE RAN
ข. ใช้คำสั่ง UNDO
ค. ใช้คำสั่ง RESTORE ใน RECYCLE BIN
ง. ใช้คำสั่ง COME BACK

----------------------------------------------------------------------------------------------------

4. การวิเคราะห์ (Analysis)





ตัวอย่างข้อสอบด้านการวิเคราะห์
4. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในข้อใดที่มี ความสำคัญที่สุด
ก. ซีพียู    ข. เมาส์      ค. จอภาพ     ง. เครื่องพิมพ์

----------------------------------------------------------------------------------------------------

5. การสังเคราะห์ (Synthesis)








ตัวอย่างข้อสอบด้านการสังเคราะห์
5.“เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ควบคุมการ ทำงานของคอมพิวเตอร์ คิดคำนวณ และเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อตัดสินใจคำกล่าวนี้หมายถึงอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ชนิดใด 
ก. เมาส์       ข. ซีพียู      ค. จอภาพ       ง.แผงแป้นอักขระ

----------------------------------------------------------------------------------------------------

6. การประเมินค่า (Evaluation)



ตัวอย่างข้อสอบด้านการประเมินค่า
6.ข้อใดใช้ งานคอมพิวเตอร์อย่างไม่เหมาะสม
ก. ฟังเพลงและเล่นเกมที่บ้านของตนเอง
ข. ดาวน์โหลดโปรแกรม Freeware มาใช้งาน
ค. บันทึกข้อมูลส่วนตัวลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน
 ง. เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ของเพื่อนเพื่อคัดลอกเอกสาร
----------------------------------------------------------------------------------------------------

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

INSIDE OUT (บทที่ 4 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธิปัญญา (Cognitive Theories))



Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง



ชื่ออังกฤษ : Inside Out
ชื่อไทย : มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง
ผู้กำกับ : พีท ดอคเตอร์
นักแสดง : เอมี่ โพห์เลอร์
บิล เฮเดอร์
มินดี้ เคลิ่ง
ฟิลลิส สมิธ
ค่ายภาพยนตร์ : Walt Disney Pictures
Pixar Animation Studios
หมวดหมู่ : แอนิเมชัน m, ตลก , ชีวิต
ความยาวหนัง 102 นาที
วันที่เข้าฉาย 12 สิงหาคม 2015 ในโรงภาพยนตร์




         ก่อนอื่นเราจะมาอ่านเรื่องย่อของหนังคร่าวๆก่อนนะค่ะ
            ไรลีย์เด็กหญิงวัย 11 ปี ผู้เติบโตขึ้นมาจากชีวิตแบบตะวันตกตอนกลางต้องย้ายมายังซานฟรานซิสโก





      ตามพ่อของเธอที่ได้รับการเสนองานใหม่ … เช่นเดียวกับเราทุกคน ไรลีย์ถูกควบคุมด้วยอารมณ์ต่างๆของเธอไม่ว่าจะเป็น   เศร้าซึม (Sadness) แทนความรู้สึกโศกเศร้า ความมัวหมอง จิตตก ลั้ลลา ( Joy ) แทนความรู้สึกความสุข รอยยิ้ม โลกสวย เรื่องสนุกสนาน  ลั๊วกลัว (Fear) แทนความรู้สึกกลัว ความวิตกกังวลบน ใจไม่สู้  ไม่กล้า  หยะแหยง(Disgust) แทนความรู้สึกรังเกียจ ถ้าไม่พอใจในทุกสิ่งทุกอย่างจะแสดงอาการเหวี่ยงทันที ฉุนเฉียว (Anger) แทนความรู้สึกโกรธ ไม่พอใจในสิ่งที่ไม่ได้ดั่งใจตัวเอง อารมณ์พร้อมจะระเบิดอยู่ตลอดเวลา 




              อารมณ์ทั้งหมดอาศัยอยู่ในศูนย์บัญชาการใหญ­่ซึ่งเป็นศูนย์ควมคุมส่วนกลางภายในจิตใจของไรลีย์ ที่ที่พวกเขาคอยช่วยแนะนำเธอให้ผ่านชีวิต­ในแต่ละวันได้   เมื่อไรลีย์และเหล่าอารมณ์ของเธอต้องปรับตัวกับการใช้ชีวิตในซานฟรานซิสโก ความโกลาหลวุ่นวายก็คืบคลานมายังศูนย์บัญชาการใหญ่ แม้ ความสุข ซึ่งเป็นอารมณ์หลักและสำคัญที่สุดของไรลีย์พยายามจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น ทว่าเหล่าอารมณ์ทั้งหลายกลับขัดแย้งกันเองในการใช้ชีวิตท่ามกลางเมืองใหม่แห่งนี้   ความทรงจำหลัก แต่ละความจำมาช่วงสำคัญในชีวิต เช่นครั้งแรกที่ทำประตูฮอกกี้ได้.. เกาะบุคลิคภาพ เกาะฮอกกี้ เกาะติงต๊อง เกาะมิตรภาพ เกาะจริงใจ เกาะครอบครัว







       จากการที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ สรุปได้ว่า เป็นหนังแอนนิเมชั่นที่ไม่ใช่แค่การ์ตูนที่ไร้สาระที่ดูแล้วสร้างความบรรเทิงเพื่อตอบสนองผู้ดูเพียงอย่างเดียว แต่ยังได้ให้แง่คิดอะไรหลายๆอย่าง กับคนดู ดูแล้วคิดตาม ดูแล้วทบทวนว่าเราเคยทำสิ่งเหล่านั้นรึป่าว แล้วย้อนกลับไปถามตัวเองว่าสิ่งที่ทำไปมันถูกต้องมากน้อยแค่ไหน?  ในชีวิตของคนเราไม่ได้สวยงามโรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป  คนทุกคนต้องมีจุดที่พีคที่สุดไม่ว่าจะดีหรือตกต่ำสุดๆ และคนทุกคนต้องมีอารมณ์ ไม่ว่าจะสุข จะทุกข์ ผิดหวัง เสียใจ เศร้า กลัว โกรธ แต่สิ่งที่ดีที่สุดอยู่ที่ว่าเราจะจัดการกับอารมณ์เหล่านั้นอย่างไร จะแสดงออกหรือเก็บมันไว้คนเดียว  และสิ่งหนึ่งที่ได้จากหนังเรื่องนี้พบว่า ครอบครัวและการเลี้ยงดู รวมไปถึงสิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต การเรียนรู้ การแสดงอารมณ์ ของคนๆหนึ่ง  เด็กจะดี เด็กจะก้าวร้าว ครอบครัวนี่หละค่ะ จะเป็นตัวสร้างเค้าขึ้นมา ขัดเกลาเค้าขึ้นมา  เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว จะแต่งแต้มสีอะไรลงไปก็ง่าย ซึ่งเชื่อมโยงกับทฤษฏีของ (เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า)
        แต่การจัดการกับอารมณ์ของตัวเองก็สำคัญเช่นกัน บางอารมณ์เราไม่จำเป็นต้องแสดงมันออก มา และบางอารมณ์เราก็ไม่ควรเก็บมันไว้คนเดียวก็ได้ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ใช่ละคนทุกคนย่อมมีอารมณ์ มีนิสัยที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่สังคมในปัจจุบันต้องมีคือการโอบอ้อมอารีและจริงใจซึ่งกันและกัน เมื่อมีใครคนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อน พี่ น้อง ครู   หรือใครก็ตามที่รู้จัก เวลาเค้าเศร้า เสียใจ ก็ต้องปลอบ  เวลาเค้าดีใจมีความสุข ก็ต้องร่วมยินดีด้วยไม่ใช่คอยอิจฉาริษยา  เวลาเค้าโกรธแสดงออกในทางที่ไม่ถูกต้องก็ต้องคอยตักเตือน เวลาเค้ากลัว ก็คอย ปลอบใจ ไม่ใช่ซ้ำเติม หรือกลั่นแกล้ง  ค่ะ  ถึงจะทำได้ไม่ทั้งหมด แต่ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย
      ชีวิตของคนเรา มีเรื่องราว มีเหตุการณ์  ต้องเจอกับคนหลายๆคน หลายความคิด หลายๆนิสัย ผ่านมาในชีวิตมากมาย  ไม่ว่าจะดี หรือร้าย คน เหตุการณ์ เรื่องราวเหล่านั้นจะเก็บไว้ในความทรงจำระยะสั้น หรือไม่ก็ระยะยาว อันนี้แล้วแต่การจัดการความทรงจำของเรา แต่แปลกที่มนุษย์ส่วนใหญ่กลับจำแบบระยะยาวกับสิ่งที่ไม่ควรให้จำ เช่น จำเวลาที่เพื่อนล้อปมด้อยตอนเด็กๆ จำได้ตอนที่พ่อแม่ด่าหรือตี จำได้เวลาที่กลัวอะไรแบบสุดๆ จำช่วงเวลาที่เสียใจสุดๆ  
        สรุปคือหนังเรื่องนี้ดีมากๆค่ะ  ปกติไม่ชอบดูหนังการ์ตูน แต่พอได้ดูก็รู้สึกดี และอินกับมันมากๆค่ะ
-          ฉากที่ชอบที่สุดคือฉากที่ลั้ลลากับปิ๊งป๊อง(เพื่อนในจินตนาการของไรลีย์) พยามกลับไปศูนย์บัญชาการความคิดของไรลีย์ พวกเค้าทำทุกหนทางเพื่อให้ไรลีย์กลับมาร่าเริงและมีความสุขอีกครั้ง เปรียบเสมือนคนเราที่ควรทำอะไรตามวัย ตามความเหมาะสม  ไม่แบกรับปัญหาไว้คนเดียว ก้าวผ่านปัญหาไปให้ได้ เพราะผลกระทบที่ตามมามันอาจจะกลายเป็นความทรงจำระยะยาวไปเลยก็ได้ ยิ้มและสู้กับมัน

             

                

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม ( Behavioral Theories )






           1)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอ (Pavlov’s Classical Conditioning)  เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
  


      2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน (Watson’s Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้จะคงทนถาวร
หากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ 











       3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของธอร์นไดค์ การตอบสนองซึ่งแมวแสดงออกมาเพื่อแก้ปัญหา เป็นการตอบสนองแบบลองผิดลองถูก การที่แมวสามารถเปิดกรงได้เร็วขึ้น ในช่วงหลังแสดงว่า แมวเกิดการเรียนรู้ด้วยการสร้างพันธะหรือตัวเชื่อมขึ้นระหว่างคานไม้กับการกดคานไม้






         4)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์(Skinner’s Operant Conditioning)  เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก  การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน  การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  มีการแสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียนรู้





          สรุป  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม คือ ธรรมชาติของมนุษย์ ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ  ไม่ดี – ไม่เลว  การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ภายนอก  พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมากเพราะ พฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด  สามารถวัดและทดสอบได้ 

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558


1. MOOCs(Massive  Open  Online  Courses)  ถือเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทใด  เพราะอะไร
   ตอบ  ความหมายของ Massive Open Online Course 
Massive ผู้เรียนลงทะเบียนได้มากกว่า 10,000คน
Open     ไม่เสียค่าใช้จ่าย ใครๆก็ลงทะเบียนเรียนได้
Online    เรียนออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต
Course    เปิดสอนได้ตลอดตามเวลาที่ต้องการได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอรับประกาศนียบัตรผล การเรียน
          สรุปMoocs  ย่อมาจาก   Massive Open Online Course  หมายถึง   การเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนแบบออนไลน์ แบบเปิดเสรีที่ไม่ว่าใครก็ตามจากซีกไหนในโลกสามารถสมัครเข้าเรียนได้ไม่จำกัดจำนวน โดยเฉพาะการศึกษาระดับสูงที่ในระบบการศึกษาเดิมนั้นจำกัดอยู่แต่เฉพาะคนจำนวนน้อยเท่านั้น
2. ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาแบ่งออกเป็นกี่ประเภทและแต่ละประเภทมีข้อดีอย่างไร
    ตอบ 1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร  ข้อดี  นวัตกรรมช่วยให้หลักสูตรทันสมัย ตอบสนองความต้องการของบุคคล สอดคล้องกับเทคโนโลยีและเศรษฐกิจในยุคสมัยนี้
    2. นวัตกรรมการเรียนการสอน  ข้อดี  แนวการสอนที่ทันสมัย ตอบสนองการเรียนรายบุคคล กลุ่ม โดยนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ เช่นการเรียนแบบศูนย์กลาง การวิจัย การเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
    3. นวัตกรรมสื่อการสอน  ข้อดี  ผลิตสื่อใหม่ๆ นักเรียนจะได้เรียนด้วยสื่อการเรียนที่่ทันสมัย ไม่จำเจ ไม่ล้าสมัย เช่นการเรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดีย CAI และอื่นๆ ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นักเรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาการเรียน
    4. นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล  ข้อดี เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว เช่น การพัฒนาคลังข้อสอบ การลงทะเบียนเรียน การตัดเกรด 
    5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ  ข้อดี  เป็นนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ  เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์  ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

3. สมมติว่านักศึกษาไปเป็นครูประจำการ  นักศึกษาจะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาใดเข้ามาช่วยในการจัดการในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual  Different)  ของผู้เรียนที่นักศึกษาได้ไปสอนและเพราะเหตุใดจึงเลือกนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้น
   ตอบ   นวัตกรรมการเรียนการสอนเพราะนวัตกรรมการเรียนการสอนคือการคิดค้นวิธีการสอนแบบใหม่ๆ มาปรับใช้กับนักเรียน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ตัวนักเรียน จะเลือกการสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ ให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม เก็บคะแนนเป็นกลุ่มเลือกเด็กอ่อนไปอยู่กับเด็กที่เก่ง ช่วยกันทำงาน และให้ทุกๆคนมีหน้าที่ และออกความคิดเห็นร่วมกันได้ อาจจะใช้สิ่งเราในการเรียน เช่นการเรียนโดยใช้เกมส์ให้แต่ละกลุ่มแข่งขันกันและเก็บคะแนนทุกคนในกลุ่มต้องมีบทบาทวิธีนี้น่าจะช่วยเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ จะทำให้เด็กที่เรียนอ่อนรู้สึกว่าตัวเองมีค่า และมีความสามารถทัดเทียมเพื่อนค่ะ 

4. ทำไมนักศึกษาวิชาชีพครู  จึงต้องเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
ตอบ   เพราะจะได้เป็นครูที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ มีวิธีการสอน สื่อการสอนที่ทันสมัย ไม่เหมือนครูยุคก่อนๆ ที่มีวิธีการสอนเดิมๆ เช่นการสอนโดยบรรยาย ทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายไม่อยากเรียน แต่ถ้าเรามีความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีรู้จักผลิตสื่อการสอนที่ทันสมัยเช่น CAI การเรียนระบบออนไลน์ แอพพลิเคชั่น ฯลฯ  รู้จักวิธีการสอน เทคนิคที่ใหม่ๆมากระตุ้นนักเรียน นักเรียนก็จะเกิดความสนใจ กระตือรือร้น และมีความสุขในการเรียนค่ะ

5. นักศึกษายกตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันพร้อมอธิบายข้อดีและข้อจำกัด  ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้น ๆ มา  1  ประเภท
ตอบ    CAI คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ 
ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน
แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้
   ข้อดีของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
                   1.  คอมพิวเตอร์จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนให้แก่ผู้เรียน  เนื่องจากการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์นั้นเป็นประสบการณ์ที่แปลกและใหม่
                   2.  การใช้สี  ภาพลายเส้นที่แลดูคล้ายเคลื่อนไหว  ตลอดจนเสียงดนตรี  จะเป็นการเพิ่มความเหมือนจริงและเร้าใจผู้เรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้  ทำแบบฝึกหัด  หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้  เป็นต้น
                   3.  ความสามารถของหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการบันทึกคะแนนและพฤติกรรมต่างๆ  ของผู้เรียนไว้เพื่อใช้ในการวางแผนบทเรียนขั้นต่อไปได
                   4.  ความสามารถในการเก็บข้อมูลของเครื่อง  ทำให้สามารถนำมาใช้ในลักษณะของการศึกษารายบุคคลได้เป็นอย่างดี  โดยสามารถกำหนดบทเรียนให้แก่ผู้เรียนแต่ละคนและแสดงผลความก้าวหน้าให้เห็นได้ทันที
                   5.  ลักษณะของโปรแกรมบทเรียนที่ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้เรียน  เป็นการช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้า  สามารถเรียนไปตามความสามารถของตนโดยเฉพาะอย่าง  ไม่รีบเร่งโดยไม่ต้องอายผู้อื่น  และไม่ต้องอายเครื่องเมื่อตอบคำถามผิด
                   6.  เป็นการช่วยขยายขีดความสามารถของผู้สอนในการคบคุมผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิดเนื่องจากสามารถบรรลุข้อมูลได้ง่ายและสะดวกในการนำมาใช้
ข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
                   1.  ถึงแม้ว่าขณะนี้ราคาเครื่องคอมพิวเตอร์และค่าใช้จ่ายต่างๆ  เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จะลดลงมากแล้วก็ตาม  แต่การที่จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในวงการศึกษาในบางสถานที่นั้นจำเป็นต้องมีการพิจารณากันอย่างรอบคอบเพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายตลอดจนการดูแลรักษาด้วย
                   2.  การออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์  เพื่อใช้ในการเรียนการสอนนั้นนับว่ายังมีน้อย  เมื่อเทียบกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการด้านอื่น ๆ ทำให้โปรแกรมบทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีจำนวนและขอบเขตจำกัดที่จะนำมาใช้เรียนในวิชาต่าง  ๆ
                   3.  ในขณะนี้ยังขาดอุปกรณ์ที่ได้คุณภาพมาตรฐานระดับเดียวกัน  เพื่อให้สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบกัน  เป็นต้นว่า  ซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของไอบีเอ็มไม่สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของแม็กคินทอชได้
                   4.  การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนเองนั้น  นับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา  สติปัญญา  และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง  ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
                   5.  เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นการวางโปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้า  จึงมีลำดับขั้นตอนในการสอนทุกอย่างตามที่วางไว้  ดังนั้น  การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  จึงไม่สามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้
                   6.  ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่  อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียนตามขั้นตอนทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้