วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

INSIDE OUT (บทที่ 4 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธิปัญญา (Cognitive Theories))



Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง



ชื่ออังกฤษ : Inside Out
ชื่อไทย : มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง
ผู้กำกับ : พีท ดอคเตอร์
นักแสดง : เอมี่ โพห์เลอร์
บิล เฮเดอร์
มินดี้ เคลิ่ง
ฟิลลิส สมิธ
ค่ายภาพยนตร์ : Walt Disney Pictures
Pixar Animation Studios
หมวดหมู่ : แอนิเมชัน m, ตลก , ชีวิต
ความยาวหนัง 102 นาที
วันที่เข้าฉาย 12 สิงหาคม 2015 ในโรงภาพยนตร์




         ก่อนอื่นเราจะมาอ่านเรื่องย่อของหนังคร่าวๆก่อนนะค่ะ
            ไรลีย์เด็กหญิงวัย 11 ปี ผู้เติบโตขึ้นมาจากชีวิตแบบตะวันตกตอนกลางต้องย้ายมายังซานฟรานซิสโก





      ตามพ่อของเธอที่ได้รับการเสนองานใหม่ … เช่นเดียวกับเราทุกคน ไรลีย์ถูกควบคุมด้วยอารมณ์ต่างๆของเธอไม่ว่าจะเป็น   เศร้าซึม (Sadness) แทนความรู้สึกโศกเศร้า ความมัวหมอง จิตตก ลั้ลลา ( Joy ) แทนความรู้สึกความสุข รอยยิ้ม โลกสวย เรื่องสนุกสนาน  ลั๊วกลัว (Fear) แทนความรู้สึกกลัว ความวิตกกังวลบน ใจไม่สู้  ไม่กล้า  หยะแหยง(Disgust) แทนความรู้สึกรังเกียจ ถ้าไม่พอใจในทุกสิ่งทุกอย่างจะแสดงอาการเหวี่ยงทันที ฉุนเฉียว (Anger) แทนความรู้สึกโกรธ ไม่พอใจในสิ่งที่ไม่ได้ดั่งใจตัวเอง อารมณ์พร้อมจะระเบิดอยู่ตลอดเวลา 




              อารมณ์ทั้งหมดอาศัยอยู่ในศูนย์บัญชาการใหญ­่ซึ่งเป็นศูนย์ควมคุมส่วนกลางภายในจิตใจของไรลีย์ ที่ที่พวกเขาคอยช่วยแนะนำเธอให้ผ่านชีวิต­ในแต่ละวันได้   เมื่อไรลีย์และเหล่าอารมณ์ของเธอต้องปรับตัวกับการใช้ชีวิตในซานฟรานซิสโก ความโกลาหลวุ่นวายก็คืบคลานมายังศูนย์บัญชาการใหญ่ แม้ ความสุข ซึ่งเป็นอารมณ์หลักและสำคัญที่สุดของไรลีย์พยายามจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น ทว่าเหล่าอารมณ์ทั้งหลายกลับขัดแย้งกันเองในการใช้ชีวิตท่ามกลางเมืองใหม่แห่งนี้   ความทรงจำหลัก แต่ละความจำมาช่วงสำคัญในชีวิต เช่นครั้งแรกที่ทำประตูฮอกกี้ได้.. เกาะบุคลิคภาพ เกาะฮอกกี้ เกาะติงต๊อง เกาะมิตรภาพ เกาะจริงใจ เกาะครอบครัว







       จากการที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ สรุปได้ว่า เป็นหนังแอนนิเมชั่นที่ไม่ใช่แค่การ์ตูนที่ไร้สาระที่ดูแล้วสร้างความบรรเทิงเพื่อตอบสนองผู้ดูเพียงอย่างเดียว แต่ยังได้ให้แง่คิดอะไรหลายๆอย่าง กับคนดู ดูแล้วคิดตาม ดูแล้วทบทวนว่าเราเคยทำสิ่งเหล่านั้นรึป่าว แล้วย้อนกลับไปถามตัวเองว่าสิ่งที่ทำไปมันถูกต้องมากน้อยแค่ไหน?  ในชีวิตของคนเราไม่ได้สวยงามโรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป  คนทุกคนต้องมีจุดที่พีคที่สุดไม่ว่าจะดีหรือตกต่ำสุดๆ และคนทุกคนต้องมีอารมณ์ ไม่ว่าจะสุข จะทุกข์ ผิดหวัง เสียใจ เศร้า กลัว โกรธ แต่สิ่งที่ดีที่สุดอยู่ที่ว่าเราจะจัดการกับอารมณ์เหล่านั้นอย่างไร จะแสดงออกหรือเก็บมันไว้คนเดียว  และสิ่งหนึ่งที่ได้จากหนังเรื่องนี้พบว่า ครอบครัวและการเลี้ยงดู รวมไปถึงสิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต การเรียนรู้ การแสดงอารมณ์ ของคนๆหนึ่ง  เด็กจะดี เด็กจะก้าวร้าว ครอบครัวนี่หละค่ะ จะเป็นตัวสร้างเค้าขึ้นมา ขัดเกลาเค้าขึ้นมา  เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว จะแต่งแต้มสีอะไรลงไปก็ง่าย ซึ่งเชื่อมโยงกับทฤษฏีของ (เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า)
        แต่การจัดการกับอารมณ์ของตัวเองก็สำคัญเช่นกัน บางอารมณ์เราไม่จำเป็นต้องแสดงมันออก มา และบางอารมณ์เราก็ไม่ควรเก็บมันไว้คนเดียวก็ได้ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ใช่ละคนทุกคนย่อมมีอารมณ์ มีนิสัยที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่สังคมในปัจจุบันต้องมีคือการโอบอ้อมอารีและจริงใจซึ่งกันและกัน เมื่อมีใครคนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อน พี่ น้อง ครู   หรือใครก็ตามที่รู้จัก เวลาเค้าเศร้า เสียใจ ก็ต้องปลอบ  เวลาเค้าดีใจมีความสุข ก็ต้องร่วมยินดีด้วยไม่ใช่คอยอิจฉาริษยา  เวลาเค้าโกรธแสดงออกในทางที่ไม่ถูกต้องก็ต้องคอยตักเตือน เวลาเค้ากลัว ก็คอย ปลอบใจ ไม่ใช่ซ้ำเติม หรือกลั่นแกล้ง  ค่ะ  ถึงจะทำได้ไม่ทั้งหมด แต่ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย
      ชีวิตของคนเรา มีเรื่องราว มีเหตุการณ์  ต้องเจอกับคนหลายๆคน หลายความคิด หลายๆนิสัย ผ่านมาในชีวิตมากมาย  ไม่ว่าจะดี หรือร้าย คน เหตุการณ์ เรื่องราวเหล่านั้นจะเก็บไว้ในความทรงจำระยะสั้น หรือไม่ก็ระยะยาว อันนี้แล้วแต่การจัดการความทรงจำของเรา แต่แปลกที่มนุษย์ส่วนใหญ่กลับจำแบบระยะยาวกับสิ่งที่ไม่ควรให้จำ เช่น จำเวลาที่เพื่อนล้อปมด้อยตอนเด็กๆ จำได้ตอนที่พ่อแม่ด่าหรือตี จำได้เวลาที่กลัวอะไรแบบสุดๆ จำช่วงเวลาที่เสียใจสุดๆ  
        สรุปคือหนังเรื่องนี้ดีมากๆค่ะ  ปกติไม่ชอบดูหนังการ์ตูน แต่พอได้ดูก็รู้สึกดี และอินกับมันมากๆค่ะ
-          ฉากที่ชอบที่สุดคือฉากที่ลั้ลลากับปิ๊งป๊อง(เพื่อนในจินตนาการของไรลีย์) พยามกลับไปศูนย์บัญชาการความคิดของไรลีย์ พวกเค้าทำทุกหนทางเพื่อให้ไรลีย์กลับมาร่าเริงและมีความสุขอีกครั้ง เปรียบเสมือนคนเราที่ควรทำอะไรตามวัย ตามความเหมาะสม  ไม่แบกรับปัญหาไว้คนเดียว ก้าวผ่านปัญหาไปให้ได้ เพราะผลกระทบที่ตามมามันอาจจะกลายเป็นความทรงจำระยะยาวไปเลยก็ได้ ยิ้มและสู้กับมัน

             

                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น